
การเสนอขายหุ้นครั้งแรกขต่อสาธารณะ (IPO)
ภาษาอังกฤษ
Initial Public Offering
IPO ย่อมาจาก “Initial Public Offering” ซึ่งหมายถึงกระบวนการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทเอกชนต่อสาธารณะ หมายความว่าหุ้นของบริษัทสามารถซื้อและขายโดยใครก็ตามในตลาดหุ้น ก่อนการเสนอขายหุ้น IPO หุ้นของบริษัทถือเป็นหุ้นส่วนบุคคล และมีเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถซื้อขายได้ โดยการดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะเปิดหุ้นให้กับนักลงทุนในวงกว้าง ทำให้พวกเขาสามารถซื้อและขายหุ้นในตลาดได้อย่างอิสระ
ข้อดีต่อบริษัท
เพิ่มความสามารถทางการเงิน
ประโยชน์หลักประการหนึ่งของการดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) คือการเพิ่มความสามารถในการระดมทุน การเผยแพร่สู่สาธารณะจะเพิ่มสภาพคล่องของหุ้น ทำให้บริษัทได้รับเงินทุนจากฐานผู้ถือหุ้นในวงกว้าง แทนที่จะอาศัยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือบริษัทร่วมทุนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะช่วยให้สามารถระดมทุนในวงกว้างขึ้น สามารถเร่งการเติบโตของธุรกิจได้ นอกจากนี้ เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้ว ความน่าเชื่อถือทางสังคมของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ง่ายต่อการจัดหาเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกหุ้นกู้
เพิ่มความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากสังคม
ข้อได้เปรียบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดำเนินการเสนอขายหุ้น IPO คือการเพิ่มความน่าเชื่อถือและการยอมรับทางสังคมของบริษัท กระบวนการออกสู่สาธารณะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลที่เข้มงวด (ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดทางเอกสารหรือศักยภาพทางการตลาด) ดังนั้นความสำเร็จในการเสนอขายหุ้น IPO จึงช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของบริษัทในสายตาของสังคมได้อย่างมาก
นอกจากนี้ การมองเห็นที่เพิ่มขึ้นซึ่งมาพร้อมกับการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังช่วยให้ดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูงได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะอำนวยความสะดวกในการเจรจากับลูกค้าและคู่ค้ารายใหญ่ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้มักต้องการทำธุรกิจกับบริษัทที่ได้รับการมองว่ามีเสถียรภาพและเชื่อถือได้
ข้อเสียต่อบริษัท
ความรับผิดชองต่อสังคมที่เพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าการเสนอขายหุ้น IPO จะได้รับความไว้วางใจจากสังคม แต่ข้อเสียก็คือเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
หากเกิดเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับบริษัทขึ้น ไม่เพียงแต่ถูกเผยแพร่ในวงกว้างเท่านั้น แต่จะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากผู้ถือหุ้นอีกด้วย ทำให้การบริหารจัดการบริษัทจะอยู่ภายใต้แรงกดดันมากกว่าที่เคยเป็นก่อนการเสนอขายหุ้น IPO นอกจากนี้ ในกรณีที่ผลการดำเนินงานทางธุรกิจไม่ดี การเปิดเผยข้อมูลอย่างทันท่วงทีและการอธิบายสถานการณ์ของบริษัทต่อนักลงทุนโดยละเอียดก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นในการบริหารจัดการบริษัท
เนื่องจากหุ้นของบริษัทสามารถซื้อขายโดยใครก็ตามในตลาดหุ้น ทำให้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ถือหุ้นไม่อาจระบุเป็นจำนวนที่แน่ชัดได้ การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นในการจัดการบริษัทอาจเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นฝ่ายบริหารอาจไม่สามารถบริหารจัดการบริษัทได้อย่างอิสระเหมือนเช่นที่เคยทำก่อนเข้าตลาดได้
ด้วยเหตุนี้ บางบริษัทจึงเลือกที่จะไม่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อความยืดหยุ่นและความอิสระในการบริหารงาน และบางบริษัทก็เลือกที่จะถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์ (เพิกถอนหลักทรัพย์) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น MBO
ค่าใช้จ่ายสำหรับการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์
การเสนอขายหุ้น IPO (การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก) โดยทั่วไปแล้วจะต้องใช้เงินจำนวนมาก โดยปกติแล้วการเตรียมการจะทำล่วงหน้ามากกว่า 3 ปี ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบด้วย
ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาสถานะในตลาดหลักทรัพย์
ไม่เพียงแต่การเสนอขายหุ้น IPO เท่านั้นที่มีค่าใช้จ่าย แต่การมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เองก็นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการตรวจสอบบัญชีที่เพิ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล (เช่น ค่าบุคคลากร ค่าพิมพ์เอกสาร) นอกจากนี้ การจัดเตรียมรายงานสถานะและผลการดำเนินงานต่อผู้ถือหุ้นก็ยังเป็นการเพิ่มภาระงานและค่าใช้จ่ายในทางอ้อมด้วยเช่นกัน
ติดต่อเราผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย